วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สาระสำคัญ
                เทคนิคการผูกผ้า คือ การคิดค้นวิธีการใหม่ๆจากทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมาใช้ในการผูก มัด ร้อย ตรึง                                                                                                                          
                เทคนิคการจับจีบผ้า  คือ การสร้างสรรค์รูปแบบของผลงานด้วยวิธี การม้วน การซ้อน การพับ การจีบ  การรูด  การบิดเกลียว
                เทคนิคการผูกผ้าและจับจีบผ้า   ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของงาน  โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยเงินทุน  รสนิยม 
สาระการเรียนรู้
1.     เทคนิคและวิธีการผูกผ้า
2.     เทคนิคและวิธีการจับจีบผ้า
3.     นำประโยชน์เทคนิคและวิธีการผูกผ้าและจับจีบผ้ามาพัฒนารูปแบบในการปฏิบัติงาน
ผลการเรียนรู้
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการผูกผ้าและจับจีบผ้า
 จุดประสงค์การเรียนรู้
1.     บอกรูปแบบและวิธีการจัดตกแต่งสถานที่
2.     มีทักษะในการออกแบบและผูกผ้าในการจัดตกแต่งสถานที่
3.     มีทักษะในการออกแบบและการจับจีบผ้าในการจัดตกแต่งสถานที่
4.     พัฒนารูปแบบการผูกผ้าและจับจีบผ้าได้
5.     สามารถทำงานตามกระบวนการของกลุ่ม 
ปัจจุบันผ้าเป็นที่นิยมในการนำมาใช้ตกแต่งและประดับสถานที่กันอย่างกว้างขว้าง  เป็นการจัดตกแต่งสถานที่ด้วยผ้า  อาจใช้ประดับผ้าอย่างเดียวหรือใช้ผ้าประดับผสมกับการจัดดอกไม้  ขึ้นอยู่กับรสนิยม  เงินทุน และวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
1.   เทคนิคและวิธีการผูกผ้า            
1.1  เทคนิคและวิธีการผูกผ้า  หมายถึง การคิดค้นวิธีการใหม่ๆจากทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมาใช้ในการผูก มัด ร้อย ตรึงให้เกิดรูปแบบที่สวยงาม
1.2  วิธีการผูกผ้า การประดับตกแต่งโดยการใช้ผ้า มีวิธีในการจัดตกแต่งได้หลายแบบด้วยกัน
1.3  การผูกดอก  เป็นส่วนสำคัญและองค์ประกอบทั้งหมด  มีการจัดวางรูปแบบถูกกำหนดให้เป็นจุดเด่นและเป็นประธานของงานนั้นๆ  ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้จุดนั้นเป็นที่สะดุดตาและสวยงาม 
ภาพวิธีการจับดอก














ขั้นตอนที่ 1  ทบหน้าผ้า ( ด้านกว้างของผ้า )เป็น 4 ส่วนเท่ากับระยะ ดอกที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 2  กำหนดความยาวของดอกตามตำแหน่งที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 3  จับจีบผ้าในระยะขอบที่กำหนดโดยกลับไปกลับมาจนหมดทบผ้า

 ขั้นตอน 4  ใช้ลวดมัดกึ่งกลางจีบให้แน่น
ขั้นตอน 5  พับตลบจีบให้เป็นกลีบดอกตามต้องการ
 ขั้นตอนที่ 6 กำหนดกลีบดอกอย่างน้อย5-6กลีบแล้วคลี่จีบไปในทิศทางเดียวกันจนดอกเกิดความพองฟู



ภาพสำเร็จ การจับดอกและเฟื่องที่ได้รับการตกแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว

 1.2  รูปแบบในการผูกผ้าในงานต่างๆ
1.  การกำหนดความแตกต่างด้วยสีของดอก  หมายถึง การประดับดอกซึ่งสับหว่างกัน ขนาดของดอกต่างกันหรือการจัดทำดอกสลับสี  แต่ถ้าต้องการจุดเด่น  ซึ่งมีความสวยงามและชัดเจนยิ่งขึ้น  





















ภาพที่  1  การกำหนดความแตกต่างด้วยสีของดอก

2.  การกำหนดความแตกต่างด้วยขนาด  หมายถึง  ดอกที่เป็นประธานถ้าใช้สีเดียวกับดอกที่เป็นรองประธาน ไม่สามารถสร้างจุดเด่นได้  ต้องแก้ไขด้วยการเพิ่มกลีบดอกที่ซ้อนกัน  ทำให้ขนาดของดอกดูเด่น


















ภาพที่  2 การกำหนดความแตกต่างด้วยขนาด

3.  การกำหนดความแตกต่างด้วยรูปร่าง  หมายถึง  การใช้เทคนิคในการพับรูปร่างของกลีบดอกซึ่งแตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับความชำนาญและเทคนิค






















ภาพที่  3  การกำหนดความแตกต่างด้วยรูปร่าง
4.  การกำหนดความแตกต่างด้วยส่วนประกอบหรือเพิ่มเติม  หมายถึง  การทำดอกด้วยรูปทรงกลมของดอกมีจำนวนกลีบดอกไม่เท่ากัน  มีขนาดใหญ่และเล็ก  เช่น การจับดอกและเสริมด้วยระย้า  



ภาพที่ 4  การกำหนดความแตกต่างด้วยส่วนประกอบหรือเพิ่มเติม
1.2.3  ระย้า    หมายถึง  ส่วนการผูกผ้าที่มีลักษณะเป็นพวง  พุ่ม จะอยู่ภายใต้ดอกหรืออยู่ระหว่างเฟื่องกับดอกรูปแบบของระย้าในการจัดทำจะเน้นที่สี 2 สี สีพับซ้อนกันหรือความสูงต่ำของระย้าทีมีขนาดแตกต่างกัน









                                                                                     


ภาพระย้าสีเดียวและระย้าที่เน้น 2 สี  ใช้ในการตกแต่งเวที
1.2.4  เฟื่อง  หมายถึง  องค์ประกอบของงาน นำมาใช้ตกแต่งโดยการผูกผ้าเพื่อแก้ปัญหา  
1.     แก้ปัญหาพื้นที่โครงสร้าง  เช่น  รั้ว  กำแพง  เพดาน  เต้นท์
2.     แก้ปัญหาเวลา  ประหยัดเวลาและลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
3.     แก้ไขด้านปริมาณ  จำนวนของผ้ามีจำกัด
4.     แก้ไขปัญหาการซ้ำกันของรูปแบบการจัด  เพื่อสร้างงานใหม่ให้เป็นจุดเด่น
5.     แก้ไขปัญหาพื้นที่โล่ง ว่างและกั้นอนาเขตที่ชัดเจน 


                                   













ภาพเฟื่องใช้ แก้ปัญหาพื้นที่โครงสร้าง โดยใช้ผ้า 2 สี